หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต

8 Views

รายละเอียดของหลักสูตร

หลักสูตศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา  คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาภาษาตะวันออก

สถานที่จัดการเรียนการสอน  คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ข้อมูลทั่วไป

1. รหัสและชื่อหลักสูตร

    รหัสหลักสูตร  : 25541861105744

    ภาษาไทย       : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต

    ภาษาอังกฤษ   : Bachelor of Arts Program in Pali and Sanskrit

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

    ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)        : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาบาลีและสันสกฤต)

    ชื่อย่อ  (ภาษาไทย)        : ศศ.บ. (ภาษาบาลีและสันสกฤต)

    ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)    : Bachelor of Arts (Pali and Sanskrit)

    ชื่อย่อ  (ภาษาอังกฤษ)    : B.A. (Pali and Sanskrit)

3. วิชาเอก

   มีจำนวน 2 วิชาเอก ดังนี้

   1) พุทธศาสตร์ (Buddhist Studies)

    2) พระไตรปิฎกศึกษา (Tripitaka Studies)

4. รูปแบบของหลักสูตร

    4.1  รูปแบบ

          หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี

    4.2 ประเภทของหลักสูตร 

          หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

    4.3 ภาษาที่ใช้

          จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

    4.4 การรับเข้าศึกษา

          4.4.1 วิชาเอกพุทธศาสตร์ รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่ใช้ภาษาไทยได้

          4.4.2 วิชาเอกพระไตรปิฎกศึกษา รับเฉพาะพระภิกษุสามเณร สังกัดคณะสงฆ์ไทย

    4.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

              ไม่มี

    4.6   การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

              ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

5. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Educational Objectives: PEOs)

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตนักวิชาการด้านภาษาที่มีคุณสมบัติดังนี้

1. มีความรู้และทักษะภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาอื่น ๆ รวมทั้งทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษาค้นคว้าและเผยแผ่พระพุทธศาสนา

2. มีคุณธรรมจริยธรรมสามารถนำองค์ความรู้ทางด้านภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาอื่น ๆ บูรณาการกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปปรับใช้ในวิชาชีพที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ในการดำรงชีวิตอย่างสมดุลเป็นสุข

3. มีทักษะการคิดวิเคราะห์และมีความคิดสร้างสรรค์สามารถต่อยอดองค์ความรู้ทางภาษาบาลีสันสกฤตและพระพุทธศาสนาจนเกิดเป็นนวัตกรรม

6. จุดเด่นเฉพาะของหลักสูตร

            หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต (วิชาเอกพุทธศาสตร์และวิชาเอกพระไตรปิฎกศึกษา) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่เป็นนักวิชาการที่มีความรู้ลึกในด้านภาษาวรรณคดีบาลีสันสกฤตและภาษาอื่น ๆ อันเป็นพื้นฐานในการศึกษาถึงแก่นแท้แห่งศาสนาตลอดจนศิลปะ วัฒนธรรม ความเชื่อ ความคิด วิถีชีวิตของภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยสามารถปรับใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์นวัตกรรมนำไปสู่การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดความเข้มแข็ง มั่นคงของจิตใจ มีจิตสาธารณะสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและสมดุล

7. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

            7.1 นักภาษาโบราณ/ นักอักษรศาสตร์

            7.2 ครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม (ภาษาบาลี)

            7.3 อนุศาสนาจารย์

            7.4 นักปฏิบัติงานการศาสนา 

            7.5 พระธรรมทูต

            7.6 นักวิจัย/ นักวิชาการอิสระ (ด้านภาษาบาลีและสันสกฤต)

            7.7 บรรณาธิการ/ นักเขียน/ นักแปล

            7.8 ข้าราชการและพนักงานของรัฐในกระทรวงหรือองค์การที่เกี่ยวข้อง

8. ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs)

PLO1: วิเคราะห์คำศัพท์ สำนวน โครงสร้างประโยคภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาที่เกี่ยวข้องได้

          Sub PLO 1.1 อธิบายคำศัพท์และโครงสร้างไวยากรณ์ภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาที่เกี่ยวข้องตามหลักภาษาศาสตร์ได้

Sub PLO 1.2 จำแนกความหมายของคำ วลี ประโยค ข้อความตามหลักวากยสัมพันธ์ภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาที่เกี่ยวข้องได้

PLO 2 ประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อประกอบอาชีพและการสร้างงานใหม่ร่วมกับเทคโนโลยี

Sub PLO 2.1 อธิบายแนวคิดและทฤษฎีทางพระพุทธศาสนาที่นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อการประกอบอาชีพและการสร้างงานใหม่ร่วมกับเทคโนโลยี

Sub PLO 2.2 นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาปฏิบัติเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาตนเองและสังคมได้

Sub PLO 2.3 ประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงพุทธ

PLO3: ประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากบทความ นิทาน คัมภีร์ กวีนิพนธ์ บทละครและหรือพระไตรปิฎกภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาที่เกี่ยวข้องในการสื่อสารและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้

          Sub PLO 3.1 แปลบทความ นิทาน คัมภีร์ กวีนิพนธ์ บทละครและหรือพระไตรปิฎกจากภาษาบาลีสันสกฤตเป็นภาษาไทยและจากภาษาไทยเป็นภาษาบาลีสันสกฤตได้

Sub PLO 3.2 อธิบายและยกตัวอย่างโครงสร้างและตีความหมายบทความ นิทาน คัมภีร์ กวีนิพนธ์ บทละคร และหรือพระไตรปิฎกภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาที่เกี่ยวข้องได้

          Sub PLO 3.3 ประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาจากบทความ นิทาน คัมภีร์ กวีนิพนธ์ บทละครและหรือพระไตรปิฎกภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาที่เกี่ยวข้องในการสื่อสารและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้

PLO4: นำแนวคิดทฤษฎีและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาจากบทความ นิทาน คัมภีร์ กวีนิพนธ์ บทละครและหรือพระไตรปิฎกภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาที่เกี่ยวข้องไปใช้สร้างสรรค์ด้านสุนทรียะอย่างมีความสมดุลของชีวิตที่ยั่งยืน

          Sub PLO 4.1 อธิบายแนวคิดทฤษฎีและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่นำมาประยุกต์ใช้ด้านสุนทรียะอย่างมีความสมดุลของชีวิตที่ยั่งยืนจากเอกสารคัมภีร์ต่าง ๆ ภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

          Sub PLO 4.2 ปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาด้านสุนทรียะอย่างมีความสมดุลของชีวิตที่ยั่งยืน (หมายเหตุ: ข้อความว่า “และหรือพระไตรปิฎก” สำหรับวิชาเอกพระไตรปิฎกศึกษาให้เน้นศึกษาจากพระไตรปิฎกเป็นหลักแต่วิชาเอกพุทธศาสตร์ไม่บังคับ)

Download หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต

Scroll to Top