หลักสูตร

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คณะมนุษยศาสตร์ของเราเปิดสอนทั้งหมด

4

หลักสูตร

ข้อมูลหลักสูตร

  1. ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์
    ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Pali, Sanskrit and Buddhist studies
  1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์)
    ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.บ. (ภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสตร์)
    ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Arts (Pali, Sanskrit and Buddhist studies)
    ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.A. (Pali, Sanskrit and Buddhist studies)
  2. วิชาเอกเดี่ยว
    ไม่ระบุ
  3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
    146 หน่วยกิต
  4. รูปแบบของหลักสูตร 
    5.1 รูปแบบ
    หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
    5.2 ประเภทของหลักสูตร
    หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
    5.2 ภาษาที่ใช้
    ภาษาไทย
    5.3 การรับเข้าศึกษา
    รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
    5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
    หลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
    5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
    ให้ปริญญาสาขาวิชาเดียว

จุดเด่น

  • คณาจารย์มีวุฒิการศึกษาตรงตามสาขาวิชา
  • เมื่อเรียนนักศึกษาสามารถนำความรู้ไปต่อยอดในการศึกษาขั้นสูงต่อไปได้
  • นักศึกสามารถรู้และเข้าใจภาษาบาลีสันสกฤตได้เป็นอย่างดี
  • นักศึกษาสามรถเข้าใจแนวคิดทางพระพุทธศาสนาและภารตวิทยาได้เป็นอย่างดี
  • ที่สาขามีห้องสมุดสาขาเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
  • ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงทางศีลธรรม เว้นแต่นักศึกษาตามโครงการศึกษาลักษณะพิเศษ
  • ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือติดยาเสพติดให้โทษ
  • เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้รับเข้าศึกษา

จบแล้วทำอาชีพอะไร

  • พระธรรมทูต/ พระสังฆาธิการ/ อนุศาสนาจารย์
  • อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย/ ครูสอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม
  • นักวิจัย/ นักวิชาการศึกษา/นักวิชาการอิสระ
  • บรรณาธิการ/ นักเขียน/ นักภาษาโบราณ/ นักอักษรศาสตร์
  • ข้าราชการและพนักงานของรัฐในกระทรวง องค์การมหาชนที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลหลักสูตร

  1. ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา
    ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Pali, Sanskrit and Tripitaka studies
  1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา)
    ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.บ. (ภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา)
    ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Arts (Pali, Sanskrit and Tripitaka studies)
    ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.A. (Pali, Sanskrit and Tripitaka studies)
  2. วิชาเอกเดี่ยว
    ไม่ระบุ
  3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
    126 หน่วยกิต
  4. รูปแบบของหลักสูตร 
    5.1 รูปแบบ
    หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
    5.2 ประเภทของหลักสูตร
    หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
    5.2 ภาษาที่ใช้
    ภาษาไทย
    5.3 การรับเข้าศึกษา
    รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
    5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
    หลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
    5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
    ให้ปริญญาสาขาวิชาเดียว

จุดเด่น

  • คณาจารย์มีวุฒิการศึกษาตรงตามสาขาวิชา
  • เมื่อเรียนนักศึกษาสามารถนำความรู้ไปต่อยอดในการศึกษาพระพุทธศาสนาได้
  • นักศึกสามารถรู้และเข้าใจภาษาบาลีสันสกฤตได้เป็นอย่างดี
  • หลักสูตรมุ่งเน้นการเรียนการสอนแบบบูรณาการให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน
  • ที่สาขามีห้องสมุดสาขาเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
  • ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงทางศีลธรรม เว้นแต่นักศึกษาตามโครงการศึกษาลักษณะพิเศษ
  • ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือติดยาเสพติดให้โทษ
  • เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้รับเข้าศึกษา

จบแล้วทำอาชีพอะไร

  • พระธรรมทูต/ พระสังฆาธิการ/ อนุศาสนาจารย์
  • อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย/ ครูสอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม
  • นักวิจัย/ นักวิชาการศึกษา/นักวิชาการอิสระ
  • บรรณาธิการ/ นักเขียน/ นักภาษาโบราณ/ นักอักษรศาสตร์
  • ข้าราชการและพนักงานของรัฐในกระทรวง องค์การมหาชนที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลหลักสูตร

  1. ภาษาไทย : ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
    ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in English
  1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ)
    ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.บ. (ภาษาอังกฤษ)
    ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Arts (English)
    ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.A. (English)
  2. วิชาเอกเดี่ยว
    ภาษาอังกฤษ
  3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
    150 หน่วยกิต
  4. รูปแบบของหลักสูตร 
    5.1 รูปแบบ
    หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
    5.2 ประเภทของหลักสูตร
    หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
    5.2 ภาษาที่ใช้
    ภาษาไทย
    5.3 การรับเข้าศึกษา
    รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
    5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
    หลักสูตรเฉพาะของสถาบันที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
    5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
    ให้ปริญญาสาขาวิชาเดียว

จุดเด่น

รายวิชาเฉพาะด้านทางพระพุทธศาสนา จำนวน 30 หน่วยกิต


คุณสมบัติผู้สมัคร

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า โดยผ่านการสอบคัดเลือกหรือหลักเกณฑ์อื่นที่สภาวิชาการกำหนด
  • เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้รับเข้าศึกษา
  • เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้รับเข้าศึกษา
  • ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงทางศีลธรรม
  • ไม่เคยถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาเดิม
  • ไม่เป็นผู้ที่วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือติดยาเสพติดให้โทษ

จบแล้วทำอาชีพอะไร

  • พนักงานในสถานประกอบการที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร เช่น งานประชาสัมพันธ์ งานต้อนรับ งานพิธีกรและงานเขียนบทโฆษณา
  • พนักงานในหน่วยงานราชการที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น กระทรวงการต่างประเทศ สถานกงสุล กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  ท่าอากาศยาน  สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง
  • นักวิชาการ/นักวิจัยทางด้านภาษาอังกฤษ
  • นักแปลภาษาอังกฤษอิสระ

ข้อมูลหลักสูตร

  1. ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
    ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Thai
  1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย)
    ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.บ. (ภาษาไทย)
    ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Arts (Thai)
    ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.A. (Thai)
  2. วิชาเอกเดี่ยว
    ไม่ระบุ
  3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
    150 หน่วยกิต
  4. รูปแบบของหลักสูตร 
    5.1 รูปแบบ
    หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
    5.2 ประเภทของหลักสูตร
    หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
    5.2 ภาษาที่ใช้
    ภาษาไทย
    5.3 การรับเข้าศึกษา
    รับนักศึกษาชาวไทยและต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้ดี
    5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
    หลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
    5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
    ให้ปริญญาสาขาวิชาเดียว

จุดเด่น

  • ให้มีความรู้ความเข้าใจในภาษาไทย พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทยได้อย่างถูกต้อง
  • ให้มีทักษะการสื่อสารภาษาไทยเพื่อประกอบอาชีพในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และอาชีพอิสระได้
  • ให้มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีจิตสาธารณะ ภูมิใจในความเป็นไทย และมีเจตคติที่ดีต่อประเทศไทย
  • . ให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์และสามารถประยุกต์ใช้ภาษาไทยได้อย่างสร้างสรรค์ทันสมัย
  • ให้มีความสามารถในการเป็นผู้นำมีโลกทัศน์กว้างไกลและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ให้มีความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นคว้า นำเสนอ และเผยแพร่ข้อมูลด้วยภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า และไม่เป็นผู้มีคุณสมบัติต้องห้ามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
    • ไม่เป็นผู้ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคร้ายแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
    • ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสียหายร้ายแรงทางศีลธรรม เว้นแต่นักศึกษาตามโครงการศึกษาลักษณะพิเศษ
    • ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือติดยาเสพติดให้โทษ
  • เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรเข้ารับการศึกษา และนักศึกษาต่างชาติต้องผ่านการศึกษาวิชาภาษาไทยในสถานศึกษาที่หน่วยงานของรัฐรับรองมีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต หรือเทียบเท่า หรือผ่านการทดสอบสมรรถภาพภาษาไทย สำหรับผู้พูดภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด โดยทางคณะกรรมการบริหารหลักสูตรได้กำหนดให้ทดสอบสมรรถภาพทางภาษาไทย ถ้าทดสอบไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จะต้องลงเรียนเพิ่มเติมในรายวิชาปรับพื้นฐานภาษาไทย 10 รายวิชา โดยไม่นับหน่วยกิตในหลักสูตรและมีผลการเรียนเป็น S (Satisfactory) เท่านั้น

จบแล้วทำอาชีพอะไร

นักศึกษาที่จบหลักสูตร จะเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา ภาษาไทยและวรรณกรรมไทย มีทักษะการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ตลอดจนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานที่เน้นการใช้ทักษะการสื่อสารและการถ่ายทอดองค์ความรู้ในหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน

เมื่อนักศึกษาเรียนจบหลักสูตรนี้แล้วสามารถประกอบอาชีพต่าง ๆ ได้ เช่น

  • งานวิชาการทางภาษาไทย เช่น นักวิชาการอุดมศึกษา
  • งานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทยหรือวรรณกรรม
  • งานที่ใช้ภาษาไทยในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
  • งานที่เกี่ยวข้องกับการสอนภาษาไทยแก่ชาวต่างชาติ เช่น วิทยากรในสถาบันสอนภาษา
  • งานอาชีพอิสระ เช่น นักเขียน นักแปล

นอกจากนี้นักศึกษายังมีพื้นความรู้เพียงพอที่จะใช้ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาสาขาต่าง ๆ ได้ อาทิ สาขาภาษาไทย วรรณกรรมไทย วรรณกรรมเปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์  คติชนวิทยา พุทธศาสน์ศึกษา หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง