หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

7 Views

รายละเอียดของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2567)

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา          มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา      คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาภาษาตะวันออก

สถานที่จัดการเรียนการสอน  คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

หมวดที่ 1  ชื่อปริญญา ประกาศนียบัตรบัณฑิต ประกาศนียบัตรชั้นสูง และสาขาวิชา

1. รหัสและชื่อหลักสูตร

        รหัสหลักสูตร  :    25621861100069

     ภาษาไทย      :   หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

        ภาษาอังกฤษ   :   Bachelor of Arts Program in Thai

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

       ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)           : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย)

   ชื่อย่อ  (ภาษาไทย)            : ศศ.บ. (ภาษาไทย)

      ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)        : Bachelor of Arts (Thai)

       ชื่อย่อ  (ภาษาอังกฤษ)        : B.A. (Thai)

3. วิชาเอก

      ไม่มี  

4. รูปแบบของหลักสูตร

4.1 รูปแบบ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี

  • ประเภทของหลักสูตร  

หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

      4.3 ภาษาที่ใช้

            การจัดการเรียนการสอน และเอกสาร ตำราเรียนในวิชาของหลักสูตรเป็นภาษาไทย

      4.4 การรับเข้าศึกษา

            รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่ใช้ภาษาไทยได้

      4.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

            ไม่มี

      4.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

            ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

3. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Educational Objectives: PEOs)

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติดังนี้

           3.1 มีความรู้ความเข้าใจหลักภาษาและวรรณกรรมไทย มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์คิดสร้างสรรค์ และบูรณาการกับสังคมพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทยได้

           3.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาไทย มีทักษะดิจิทัล การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่ เพื่อประกอบอาชีพตามบริบทของสังคมได้

           3.3 มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ มีความภูมิใจในความเป็นไทยที่มีภาษาและอักษรไทยเป็นของตน

3.4 มีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ

จุดเด่นเฉพาะของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มุ่งผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้มีความรู้ทั้งเชิงกว้าง            คือ สามารถบูรณาการศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาภาษาไทยได้ และเชิงลึก คือ มีความรู้จริงในสาขาวิชา มุ่งสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านภาษาไทยให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา สามารถปฏิบัติงานที่เน้นการใช้ทักษะการสื่อสารในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปรับใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์นวัตกรรมนำไปสู่การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดความเข้มแข็ง มั่นคงของจิตใจ และมีจิตสาธารณะสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและสมดุล

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. นักวิชาการด้านภาษาไทย

2. เจ้าหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเอกสาร เช่น เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่สารบรรณ เจ้าหน้าที่พิสูจน์อักษร เป็นต้น

3. นักเขียน/นักวรรณกรรม

4. พิธีกร/วิทยากร 5. อาชีพอิสระ/บุคลากรทางการศึกษา

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จัดการศึกษาตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้องลงมือปฏิบัติ ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา มีทักษะการสื่อสารทางภาษาไทย มีทักษะดิจิทัล รวมถึงมีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ

ความเกี่ยวข้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนของมหาวิทยาลัย และกลุ่มสถาบัน

            มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาสังกัดในกลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนาซึ่งมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในด้านวิชาการและมีความรอบรู้ในหลักพระพุทธศาสนาตามปรัชญามหาวิทยาลัยว่า “ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา” หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จึงพัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 1 ของมหาวิทยาลัย คือ ปริยัติ ซึ่งประกอบด้วย การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้ตามอัธยาศัย การเรียนรู้เพื่อเป็นผู้ให้ และการสร้างพื้นที่ไร้พรมแดนแห่งการเรียนรู้พุทธ กล่าวคือ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในชีวิตประจำวันเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมตามแนวทางพุทธธรรมนำปัญญา เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงพุทธ รวมทั้งรอบรู้ในศาสตร์ภาษาไทย ทั้งในด้านภาษาและวรรณกรรมไทย และสามารถนำหลักการทางภาษาไทยไปใช้สื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมถึงประยุกต์ใช้ทักษะภาษาไทยใช้ภาษาไทยเพื่อพัฒนาตนพัฒนาสังคมและการดำรงชีวิตในสังคมยุคดิจิทัลตามบริบทของอาชีพ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่ว่า “ร่วมพัฒนาพลเมืองโลก ด้วยการผสานแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาที่มั่นคง ให้ดำรงอยู่ในฐานะโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาของมนุษย์ในอนาคต” ทั้งยังสอดรับกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่ว่า “ให้การศึกษา วิจัย ส่งเสริมและให้บริการวิชาการทางพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร; PLOs

PLO 1 รอบรู้ในศาสตร์ แนวคิดและทฤษฎีสมัยใหม่เกี่ยวกับความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ บูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อไปพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างมีความรับผิดชอบ

Sub PLO 1.1 อธิบายแนวคิดและทฤษฎีสมัยใหม่ และคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งที่จะนำมาพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้

Sub PLO 1.2 ประยุกต์ใช้ศาสตร์แนวคิด ทฤษฎีสมัยใหม่ในการพัฒนาตนเองให้เป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคม มีจิตอาสาและมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม

Sub PLO 1.3 วิเคราะห์หลักการบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ ให้สามารถแก้ไขปัญหาชีวิต ครอบครัว และสังคมได้อย่างมีเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์อย่างมีความรับผิดชอบ

PLO 2 รอบรู้ในศาสตร์ภาษาและเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีความรับผิดชอบ

Sub PLO 2.1 อธิบายการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเบื้องต้นในชีวิตประจำวันได้

Sub PLO 2.2 ประยุกต์ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษา เหมาะสมกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น แสดงออกถึงการใฝ่รู้ ใฝ่เรียนและเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต

Sub PLO 2.3 เลือกใช้เครื่องมือสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับจุดประสงค์ของการใช้งานโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม

PLO 3 รอบรู้ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนานำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมตามแนวทางพุทธธรรมนำปัญญา เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงพุทธ

Sub PLO 3.1 อธิบายหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์

Sub PLO 3.2 นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาปฏิบัติเพื่อพัฒนา และแก้ปัญหาตนเองและสังคมได้

Sub PLO 3.3 ประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงพุทธ

PLO 4 วิเคราะห์ความรู้หลักภาษาไทยเพื่อการสื่อสารได้ตรงกับวัตถุประสงค์และให้สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรม

Sub PLO 4.1 อธิบายความรู้หลักภาษาไทย และพัฒนาทักษะการสื่อสารตรงตามวัตถุประสงค์ในบริบททางวัฒนธรรม

Sub PLO 4.2 วิเคราะห์การใช้ภาษาไทยที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ เพื่อสื่อสารตามวัตถุประสงค์ ดำรงชีวิตในสังคมดิจิทัล

PLO 5 ประยุกต์ใช้ทักษะภาษาไทยใช้ภาษาไทยเพื่อพัฒนาตนพัฒนาสังคมและการดำรงชีวิตในสังคมยุคดิจิทัลตามบริบทของอาชีพ

Sub PLO 5.1 อธิบายปัญหาการใช้ภาษาไทยในยุคดิจิทัลเพื่อหาแนวทางแก้ไขให้สอดคล้องกับการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต

Sub PLO 5.2 ประยุกต์ใช้ทักษะภาษาไทยเพื่อผลิตสื่อด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตในยุคดิจิทัล

PLO 6 นำหลักการทางภาษาไทยไปใช้สื่อสารในบริบททางพระพุทธศาสนา

Sub PLO 6.1 เชื่อมโยงความรู้ทางพระพุทธศาสนาด้วยทักษะภาษาไทย เพื่อต่อยอดความรู้สำหรับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

Sub PLO 6.2 ประยุกต์ใช้หลักธรรมให้สอดคล้องกับการดำรงชีวิตในยุคดิจิทัล เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาลงในสื่อดิจิทัล

PLO 7 วิเคราะห์วรรณกรรมไทยอย่างสร้างสรรค์และบูรณาการความรู้ วรรณกรรม ทักษะทางภาษา    เพื่อสร้างสรรค์และนำเสนอผลงาน

Sub PLO 7.1 วิเคราะห์วรรณกรรมที่สัมพันธ์กับสังคมและวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ Sub PLO 7.2 บูรณาการความรู้ วรรณกรรม ทักษะทางภาษา เพื่อสร้างสรรค์และนำเสนอผลงาน

Download หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

Scroll to Top